เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้า ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ยามเย็น หลังจากผู้ปกครองเลิกงาน เด็ก ๆ ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งจะมานั่งล้อมวงกัน เพื่อดูด้วงกวาง หรือแมงกวาง 5 เขา ที่ช่วงนี้บนพื้นที่สูงอย่างภูหินร่องกล้าเป็นฤดูแห่งแมงกวาง ในทุกค่ำคืนที่ฟ้ามืดสนิท หากมีแสงไฟ แมงกวางเหล่านี้จะบินมาเกาะอยู่ทั่วไปบนพื้นที่ หรือแม้แต่ยามที่ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งเข้าป่าไปหาของป่า ก็จะพบได้บ่อยก็มักจะเก็บกลับมาฝากลูกหลานกัน เพราะสมัยนี้เริ่มหายากหากพบด้วงกวาง หรือแมงกวาง 5 เขาที่ไหน แสดงว่าในพื้นที่นั้นเป็นธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ปลอดจากสารเคมีนั่นเอง

นายจื้อ  แซ่ลี ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง เล่าให้ฟังว่า ด้วงกวาง 5 เขา เพศผู้จะตัวใหญ่ มีความยาวตั้งแต่เขาและตัวประมาณ 10 เซนติเมตร มีสีน้ำตาลอ่อน ๆ ตั้งแต่เขาเดือนกันยายนมานี้ตนจับได้ประมาณ 10 ตัว แต่จะจับมาเฉพาะตัวผู้ ส่วนตัวเมียก็จะปล่อยไป เพราะตัวเมียไม่มีเขา ไม่ค่อยสวย ตัวผู้จับมาได้ก็จะนำมาเลี้ยง โดยให้กล้วยสุกและอ้อยเป็นอาหาร ปัจจุบันแมงกวาง 5 เขา เริ่มหายาก จะอยู่ตามป่าสมบูรณ์ มีอากาศค่อนข้างเย็น แต่ปัจจุบันเริ่มหายาก เนื่องจาก ป่าเป็นป่าปลูก ใช้สารเคมีด้านการเกษตรมากขึ้น ทำให้แมลงต่าง ๆ ไม่เฉพาะด้วงกวางเท่านั้นที่เริ่มหายาก สัตว์และพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ก็ไม่แตกต่างกัน แต่ยังคงพบเห็นได้บ่อยบนโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้าแห่งนี้ เนื่องจากมีอากาศเย็นสภาพป่าสมบูรณ์ ไร้สารเคมี หรือสารกำจัดศัตรูพืชต่าง ๆ

นายจื้อ เล่าต่อว่า ด้วงกวาง หรือแมงกวาง 5 เขาเป็นแมลงปีกแข็ง มี 6 ขา ตัวผู้มีเขายื่นไปข้างหน้าและโค้งเข้า ช่วงปลายเขาแยกเป็นสองแฉก ซึ่งมีเขา 2 – 3 เขา และที่หายากที่สุดคือ 5 เขา เขานั้นจะทำหน้าที่เป็นอาวุธประจำตัวชิงความเป็นหนึ่งในการเลือกคู่ อันเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ หลังจากด้วงกวางตัวผู้หาคู่ที่ถูกใจได้แล้วจะใช้เวลาอยู่ด้วยกัน 2 – 4 เดือน ตัวผู้จะเริ่มตาย ส่วนตัวเมียเริ่มลงพื้นดินเพื่อวางไข่ จากนั้นจึงค่อย ๆ ฝังกลบตัวเองและตายในที่สุด สำหรับวัฏจักรของด้วงกวาง ช่วงที่ยังเป็นไข่และวัยอ่อนใช้เวลาอยู่ในดิน 1 – 2 เดือน จึงเริ่มกลายเป็นตัวหนอนหรือตัวด้วงสีขาว ตัวโต มีความยาวประมาณ 5-6 ซม. กินเศษใบไม้ผุ ตอไม้ หรือต้นไม้ที่ผุเป็นอาหาร แล้วจึงเริ่มเข้าสู่การเป็นดักแด้อีก 1 ปี

หลังฝนตกลงมาทำให้ดินอ่อน ด้วงกว่างที่เจริญเติบโตเต็มที่จะดันดินออกมาสู่โลกภายนอก หาแหล่งอาหารใหม่ อาทิ ยางไม้ ผลไม้ ยอดพืชผัก ยอดหน่อไม้ ใบคราม ไม้มะกอก กล้วย และน้ำหวานจากอ้อย เมนูโปรดปรานเป็นพิเศษซึ่งคนที่เลี้ยงมีความเชื่อ หากเลี้ยงด้วยอ้อยด้วงกวางจะแข็งแรง ต่อสู้เก่ง และมีความอึด เป็นแมลงปีกแข็ง มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากแมลงปีกแข็งจำพวกอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่ และดูบึกบึน มีปีกที่พัฒนาเป็นเปลือกแข็ง 1 คู่ หุ้มลำตัวด้านบนที่นูนอยู่ เหมือนสวมชุดเกราะ มีสีดำคล้ำ หรือน้ำตาลเข้ม เงางาม มีอวัยวะบริเวณส่วนหัวที่งอกยาวออกมาคล้ายเขา อย่างน้อย 1 คู่ จะอยู่ด้านบนและด้านล่างของส่วนหัว ซึ่งที่พบยากที่สุดคือ ด้วงกวาง 5 เขา ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่า และไม่มีเขา จะมีให้เห็นในช่วงเดือนกันยายน–พฤศจิกายน 8d0ad

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า