การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ทุ่มงบ 4 ล้าน มอบ 10 ทุนการศึกษาให้บุตรชาวสวนยางพารารุ่นแรก คนละ 4 แสนบาท ใน 3 สถาบัน เรียนระดับปริญญาตรี เกี่ยวกับเทคโนโลยีการยาง สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และแปรรูปยางพารา

นายวีระพัฒน์  เดชารัตน์ หัวหน้ากองสวัสดิการเกษตรกร ฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร กยท. กล่าวถึงรายละเอียดของสวัสดิการ “ทุนการศึกษาบุตรเกษตรกรชาวสวนยาง” ว่า “งบประมาณที่จัดให้ทุนการศึกษานั้น เป็นส่วนหนึ่งในสวัสดิการอื่น ๆ ที่จัดให้เกษตรกรชาวสวนยาง ตาม พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 49 (5) ซึ่งในต้นปีพ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา โครงการนี้ถือเป็นโครงการนำร่องในหมวดของสวัสดิการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งก่อนหน้านี้ กยท. ได้จัดสวัสดิการด้านการส่งเสริมอาชีพ และประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม และเพิ่งจะเริ่มจัดทำโครงการทุนการศึกษากับบุตรเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ที่จะเรียนในระดับปริญญาตรี”

“โดยให้ทุนการศึกษาต่อเนื่อง 4 ปี ปีละ 100,000 บาท จนจบการศึกษา ซึ่งหลักการและเหตุผลของการจัดทำโครงการนี้ คือ ทาง กยท. เห็นว่าเรื่องของการศึกษานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ อยากให้บุคลากรในอาชีพนั้นๆ ได้สร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในเรื่องของอาชีพ เราคาดหวังว่าบุคลากรเหล่านี้จบมาแล้ว จะเข้ามาเป็นส่วนร่วมกับ กยท. โดยนำโครงการ การวิจัย หรือนวัตกรรมด้านยางพาราที่นักศึกษาได้เรียนรู้มา กลับไปเพื่อพัฒนาอาชีพยางพาราในท้องถิ่นหรือที่ไหนก็แล้วแต่ อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ชิ้น เพื่อจะได้ให้เห็นประโยชน์คุณค่าของการร่ำเรียนเรื่องนวัตกรรมการแปรรูปยาง เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในปี 2563 ได้เขียนโครงการขออนุมัติ เพื่อจัดทำโครงการดังกล่าว นำร่องเป็นจำนวน 10 ทุนการศึกษา ทุนละ 400,000 บาท รวม 4 ล้านบาท”

นักศึกษาทุน กยท. รุ่นแรกมีสถาบันที่เราคัดเลือกเข้าเรียน 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เลือกนักศึกษา 5 ทุน, ม.อ.วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 ทุน และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3 ทุน กระบวนการคัดเลือกเด็กที่จะได้รับทุนการศึกษานั้น จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนของการสอบในภาคทฤษฎี และการสอบสัมภาษณ์ จะมีการกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกไว้อย่างชัดเจนเป็นส่วน ๆ สำหรับเงื่อนไขที่เด็กผู้ผ่านการคัดเลือก จำเป็นต้องปฏิบัติระหว่างการศึกษาไปจนถึงจบการศึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งทาง กยท. มีข้อกำหนดเพียงแค่คนที่ได้รับทุนจะต้องเรียนให้จบภายในกำหนดระยะเวลา 4 ปี และต้องส่งผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมให้กับ กยท. หลังจากจบแล้วภายใน 1 เดือน เพื่อจะได้นำงานวิจัยตรงนี้ไปถ่ายทอดภายในระยะ 6 เดือน

สำหรับนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาบุตรเกษตรกรชาวสวนยางจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในปี 2563 คือ นายจุลจักร  เดโช กยท.เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน นายทัพสาร  โชติชุม กยท.เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง นางสาวชไมพร  สุริยา กยท.เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง นางสาวสกุลทิพย์  อยู่สอน กยท.เขตภาคกลางและภาคตะวันออก นายสรวิชญ์  ช่วยแก้ว กยท.เขตภาคใต้ตอนกลาง นางสาวอัษฏาพร  จันทร์ทอง กยท.เขตภาคใต้ตอนกลาง นางสาวจินตา  ลูกเหล็ม กยท.เขตภาคใต้ตอนกลาง นางสาวนัทฐาภรณ์  คงมาก กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง นายรุซดาร  มะลี กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง นางสาวเปรมวดี  รักบรรจง กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า