ม.นเรศวร คิดค้นเครื่องตรวจการได้รับกลิ่นแยก โรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 NU Spiro Breathe  หนึ่งเดียวในประเทศ พร้อมพัฒนาเครื่องช่วยบริหารยาหยอดตาเพื่อลดความเสี่ยงในสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด-19 วางจำหน่ายปลายเดือน กุมภาพันธ์นี้

วันที่ 12 มกราคม 2563 ที่สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ศ.นพ.ศิริเกษม  ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รักษาการ ผอ.รพ.ม.นเรศวร ดร.ภก.ประยุทธ  ภูวรัตนาวิวิธ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์  พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนยุทธ ศรีหิรัญ อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมกันแถลงข่าวคิดค้น เครื่องมือ NU Spiro Breathe ตรวจการได้รับกลิ่น แยกโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ซึ่งเป็นเครื่องมือประเมินการอุดตันของโพรงจมูก ช่วยในการฝึกสมรรถภาพการหายใจของผู้ป่วยให้กลับมาเป็นปกติได้ โดยมีการวิจัยทางคลินิกที่แสดงให้เห็นว่าไม่ก่อนให้เกิดอันตรายใด ๆ และแม้แต่ผู้สูงอายุก็สามารถใช้งานได้ ประชาชนทั่วไปสามารถนำไปใช้งานด้วยตนเองที่บ้านได้

สำหรับเครื่องมือประเมินการอุดตันของโพรงจมูก มีลักษณะทรงกระบอกและท่อยางสำหรับหายใจเข้า-ออกจมูก ใช้วัดปริมาตรและวัดแรงดันจากการหายใจ ทำงานโดยอาศัยหลักการวัดค่าความดันแตกต่างกรณีที่ของเหลวในหลอดทั้งสองด้านอยู่ภายใต้สภาวะความดันเดียวกัน ระดับความสูงของ ของเหลวภายในหลอดั้งสองจะเท่ากัน เรียกว่า ระดับศูนย์ของสเกล และเมื่อมีความดันจากภายนอกมากระทำกับหลอดทางด้านซ้าย ระดับความสูง ของเหลวในหลอดด้านซ้ายจะลดลง ส่วนของเหลวด้านขวาจะมีความสูงเพิ่มขึ้น โดยค่าความดันแตกต่างที่กระทำกับของเหลวทั้งสองด้านมีค่าแปรผันตรงกับความแตกต่างของความสูงของเหลวที่บรรจุในหลอด ดังนั้น จึงคุณสมบัติเหมาสมในการนำมาประยุกต์ใช้ประเมินการอุดตันของโพรงจมูก เพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะจมูกอุดตัน ในผู้ป่วยบางกลุ่ม

สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินอาการของโรค โควิด-19 ได้อีกทางหนึ่ง และสามารถใช้เพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะจมูกอุดตันได้ไปพร้อมๆกัน ความโดดเด่นของเครื่องมือนี้ คือ การใช้หลักการที่ง่ายแต่มีประโยชน์มาก และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติในการประดิษฐ์เครื่องมือต้นแบบ จนสามารถพัฒนาเครื่องช่วยบริหารยาหยอดตา EDANU ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการใช้ช่วยหยอดตาในประชาชนทั่วไป ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ด้วย โดยไม่ต้องมีการสัมผัสของมือกับผิวหนังรอบดวงตา หรือดวงตา จึงลดโอกาสการติดเชื้อแทรกซ้อนจากมือของผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถใช้เครื่องมือได้ ถึงแม้จะมีมือเพียงข้างเดียว โดยนวัตกรรมทั้ง 2 ประเภทนี้ ได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะมีวางจำหน่ายหน่ายในปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2564 นี้ ในราคาที่ประชาชนสามารถหาซื้อมาใช้ในครัวเรือนได้

ข่าว /ภาพ : สุนิสา ลาสม และ บุญญาดา จิระสวัสดิ์วงษ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า