เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 18 มีนาคม 2568 ที่คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก รศ.ดร.อนุรักษ์  เขียวขจรเขต อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร แถลงข่าวงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาสูตรอาหารปลานิลจากแมลงเป็นหลัก ด้วยวัตถุดิบพื้นบ้านเพื่อยกระดับการสะสมโอเมกา-3 (linolenic acid และ DHA) ในกล้ามเนื้อ ให้เทียบเคียงปลามูลค่าสูงทางเศรษฐกิจจากต่างประเทศ” ซึ่งปัจจุบันการบริโภคสัตว์น้ำถือเป็นแหล่งโปรตีนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อผู้บริโภค เนื่องจากเป็นแหล่งของสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งของโปรตีนที่มีราคาถูก และแหล่งของไขมันเป็นหลัก ด้วยปริมาณความต้องการบริโภค และจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

จึงผลต่อการขยายตัวในทุกส่วนของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเจริญเติบโตเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งโปรตีนจากปลาป่น และน้ำมันปลาเป็นหลัก เนื่องจากเป็นแหล่งของสารอาหารที่ครบถ้วน และไม่มีสารต้านโภชนาการ ส่งผลต่อการจับปลาจากธรรมชาติ กระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติและเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายของสัตว์น้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในปัจจุบันปริมาณปลาป่นจึงมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อกลไกลทางการตลาดอันส่งผลต่อราคาที่เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ในขณะที่ความต้องการการบริโภคสัตว์น้ำที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากการทดลองในห้องปฏิบัติการของผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองเสร็จสิ้นแล้วนั้น พบว่าผักไชยาในจังหวัดพิษณุโลกเป็นแหล่งของกรดไขมันชนิด 18:3n-3 เป็นหลัก โดยผสมผักไชยาป่นที่ระดับต่าง ๆ ในอาหารสำหรับปลานิล พบว่าเมื่อนำผักไชยาผสมในอาหารปลานิล พบว่าผักไชยาสามารถทดแทนการใช้กากถั่วเหลืองได้ในปริมาณมากกว่า 200 กรัม/กก หรือ 20 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์ของกรดไขมันในกล้ามเนื้อปลาที่สามารถรับประทานได้ (fillet) ก็ยังสามารถเพิ่มปริมาณของกรดไขมันชนิด (LC-HUFA) linolenic acid ในกล้ามเนื้อปลานิลได้สูงกว่า 1.5 เท่า และชนิด DHA ได้สูงกว่า 2.41 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ทั้งนี้ปริมาณของ DHA มีค่าเท่ากับ 65.75 g/kg ซึ่งเทียบเท่าปลาแซลมอลนำเข้าจากต่างประเทศ

ดังนั้นเพื่อพัฒนาอาหารสัตว์น้ำที่มีแหล่งโปรตีนจากแมลงเป็นหลักให้สามารถยังคงสารอาหารกลุ่มของกรดไขมัน LC-HUFA ในกล้ามเนื้่อของปลานิลได้นั้น จึงที่เป็นที่มาของการพัฒนาการใช้ผักไชยาที่มี 18:3n-3 เพื่อเป็น precursor สำหรับการสังเคราะห์ LC-HUFA ไม่อิ่มตัวสูงและสายยาว เพื่อการสะสมในกล้ามเนื้อปลานิล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า