นายประพันธ์ บุณยเกียรติ

กยท.รุกจัดสวัสดิการชาวสวนยาง ศึกษาโครงการสมัครใจจ่ายสมทบ ด้วยหลักคิดที่คำนึงชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยาง “ต้องดีขึ้น” คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ภายในการนำของ นายประพันธ์  บุณยเกียรติ ประธานบอร์ด กยท. จึงมุ่งมั่นพัฒนาและจัดหาสิ่งดีๆ มามอบให้ชาวสวนยางพาราอย่างสม่ำเสมอ

นายสุนทร  รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย และอนุกรรมการศึกษาข้อมูลการจัดสวัสดิการและอื่นๆ เพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. เปิดเผยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ เกษตรกรชาวสวนยางบัตรเขียวมีจำนวนประมาณ 1.4 ล้านราย และบัตรชมพูประมาณ 4 แสนราย 6 ล้านไร่ ไม่เกินสิ้นปีนี้น่าจะยกระดับเป็นบัตรเขียว ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 1.8 ล้านราย และภายใน 3 – 4 ปีนี้ มองว่าประกันภัยอุบัติเหตุยอดน่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าน่าจะทำต่อไปไม่ไหว โดยต่อปีเรามีงบประมาณในสวัสดิการ มาตรา 49 (5) ตกประมาณ 500 กว่าล้านบาท ถ้าไปซื้อประกันอุบัติเหตุมูลค่ากว่า 3 – 4 ร้อยล้านก็คงแย่

นายสุนทร รักษ์รงค์

ในฐานะที่ตนเป็นประธานคณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ อยากขอทำความเข้าใจกับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางว่า กองทุนสวัสดิการเป็นเรื่องที่พี่น้องเกษตรกรต้องมีความพร้อม และไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะให้พี่น้องตื่นตัวและสะสมก่อน ดังนั้น สิ่งที่เราจะดำเนินการ คือ หลังจากทำการศึกษาเสร็จ เราจะลงพื้นที่ไป 7 เขตทั่วประเทศ เพราะว่า การออกแบบในเรื่องนี้ วันนี้เราสมมติว่า 1 บาทต่อวันต่อคน แต่พี่น้องเกษตรกรอาจจะบอก 50 สตางค์ก็ได้ ดังนั้น เราจึงต้องลงไปสอบถามความคิดเห็นของพี่น้องเกษตรกรก่อน

วันนี้สวัสดิการจะกลายเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขที่เป็นความสุขให้กับชาวเกษตรกรชาวสวนยางพารา จากการได้รับสิทธิ์สวัสดิการเหล่านี้ เรามุ่งหวังว่าในวันนี้รวมถึงความช่วยเหลือต่อไปในอนาคต จะต้องไปถึงพี่น้องบัตรสีชมพูที่จะยกระดับเป็นบัตรเขียว ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นทางออกที่จะเป็นแบบอย่างให้กลุ่มเกษตรกรชนิดอื่น เขาได้เห็นเป็นแบบอย่างว่าชาวสวนยางก็ทำได้ในการจัดการตัวเองของชาวสวนยาง โดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก

“ยกตัวอย่างถ้ากองทุนจัดตั้งเสร็จ เรามีเงิน 1,000 บาท ต่อคนอยู่ในมือ ในขณะที่เราทำประกันอุบัติเหตุคนหนึ่งประมาณ 100 กว่าบาท เรายังมีเงินเหลือที่ไปซื้อประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพสามารถมีค่ารักษาพยาบาลได้ และคนกรีดยางเมื่ออายุเข้า 60 ปี ก็อาจจะมีบำนาญจัดให้สำหรับคนกรีดยางที่เกิดขึ้นจากการกองทุนสวัสดิการนี้ หรือว่าเกิดภัยพิบัติในที่อื่นๆ เขาอาจจะช่วยในเรื่องของต้นยางพารา แต่สำหรับเกษตรกรรายย่อยอาจจะลำบากในเรื่องของการเงิน เราก็อาจจะมีกองทุนช่วยเยียวยาเดือนละ 3,000 – 4,000 บาท เพื่อให้เขามีเงินในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันโดยไม่ขัดสนเกินไปนัก”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า