รมว.กระทรวงสาธารณสุข เปิดอาคารผู้ป่วยนอกและงานพาหมอไปหาประชาชน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567  ที่โรงพยาบาลพิชัย อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์   นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพิชัยและเปิดงาน พาหมอไปหาประชาชนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมี  รองศาสตราจารย์นายแพทย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข  นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายศิริวัฒน์  บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ คณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน   และประชาชน เข้าร่วมในงาน

โครงการ “พาหมอไปหาประชาชน“ เป็นนโยบายที่ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพัฒนาหน่วยแพทย์เฉพาะทาง จิตอาสา เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงประชาชนกลุ่มเสี่ยงในโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล โครงการมีการจัดหน่วยแพทย์เฉพาะทางคัดกรองโรคที่เป็นปัญหาเฉพาะที่ จัดโครงการจำนวน 72 ครั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ตลอดปี 2567 โดยจะให้บริการคลีนิคเฉพาะทางครบทั้ง 7 คลินิก ประกอบด้วย คลินิกคัดกรองมะเร็งตับ และมะเร็งท่อน้ำดี คลินิกคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คลินิกคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง คลินิกคัดกรองมะเร็งเต้านม คลินิกตาในเด็กและผู้สูงอายุ คลินิกทันตกรรม และคลินิกกระดูกและข้อ และได้จัดบริการคลินิกเฉพาะทาง เพิ่มเติม อีก 7 คลินิก ดังนี้

คลินิกสุขภาพจิตและพัฒนาการเด็ก คลินิกตรวจคัดกรองวัณโรค คลินิก Advance NCD (ตรวจตา, EKG, Fundus) คลินิกตรวจการได้ยิน คลินิกกายอุปกรณ์ คลินิกตรวจคัดกรองโรคจากการทำงาน และตรวจหาสารเคมีในเลือด และคลินิกตรวจคัดกรองนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ กิจกรรมพาหมอไปหาประชาชน เป็นการโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสพบปะกับแพทย์ที่รักษาเฉพาะทาง ซึ่งมีจำนวนจำกัด ไม่สามารถจัดบริการให้ประชาชนได้ทั่วถึง ทันเวลา หากอาการผิดปกติจะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป  โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

โครงการ “พาหมอไปหาประชาชน“ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา กิจกรรมดังกล่าวจัดเป็น ครั้งที่ 7 ดำเนินโครงการกระจายเขตละ 6 ครั้ง โดยในเขตสุขภาพที่ 2 โรงพยาบาลพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดนำร่อง  กรณีมีการนัดหมายต่อจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การรักษาลุล่วง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชน แม้จะมีนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ซึ่งต้องรอระยะเวลาในการกระจายให้ครบทุกพื้นที่ภายในสิ้นปี 2567 โครงการดังกล่าวเพื่อลดช่องว่าง การเข้าถึงการบริการประชาชน ช่วงรอยต่อ มุ่งเน้นโรคเฉพาะทาง รองรับเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสพบแพทย์เฉพาะด้านเฉพาะทาง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับประชาชน โดยเฉพาะโรคภัยไข้เจ็บที่มีผลต่อขีดความสามารถและศักยภาพของประชาชน และมิติเศรษฐกิจ

โรงพยาบาลพิชัยซึ่งเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เปิดอาคารผู้ป่วยนอกเพื่อรองรับบริการประชาชนในพื้นที่พิชัยและอำเภอข้างเคียง  รวมทั้งบริการ Smart Hospital จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการ ช่วยทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน และความแม่นยำในการจัดการต่างๆ ลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอย และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชน  อีกทั้งเปิดการดำเนินงานของ ทีม Care D+ ซึ่งเป็นทีมสื่อสารสร้างสัมพันธ์ เติมรักปันสุข กับประชาชน

ข่าว  :  ประสิทธิ์   ผึ้งสุข

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า