สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร  จัดการประกวดการทำโคมเครื่องแขวนไทยโบราณเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ  28 กรกฎาคม 2567 ในงาน “พุทธศรัทธา บูชาพระพุทธชินราช”

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 19 กรกฏาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลาพิบูลธรรม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร หรือ วัดใหญ่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก นางศศิวัณย์  ศรีพรหม ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดการประกวดการทำโคมเครื่องแขวนไทยโบราณเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ  28 กรกฎาคม 2567 ในงาน “พุทธศรัทธา บูชาพระพุทธชินราช” โดยจัดขึ้นเป็นครั้งแรกและปีแรกของจังหวัด โดยสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร

นางศศิวัณย์ ศรีพรหม ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า  ปีนี้เป็นปีมหามงคล เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567และโอกาสที่พระพุทธชินราช ครบ 667 ปี จึงได้จัดการประกวดการทำโคมเครื่องแขวนไทยโบราณ ถวายเป็นพุทธบูชา โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทนักเรียน และประเภทประชาชนทั่วไป ชิงโล่จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมเงินรางวัลกว่า 133,000 บาท   การจัดงานครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกของจังหวัดพิษณุโลก มีผู้สนใจทั้งนักเรียนนักศึกษาและประชาชนเข้าร่วมการแข่งขันมากกว่า 25 ทีม

 เพื่อให้การประกวดเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรมและสำเร็จไปด้วยดี ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดได้แต่งตั้ง คณะกรรมการตัดสินจากจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน คือ 1.นายธีระยุทธ  กิตตินภวัฒน์  ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดบางลี่ (พานิชอุทิศ)จังหวัดสุพรรณบุรี  2.นางพรธนาวดี  เพ็ชรมุข ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านไร่พิทยาคม จังหวัดสุโขทัย  3.นายอนุชา  เรืองหิรัญ กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก  4.นายสุชาติ  สาดอ่ำ ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 7 สาขาช่างศิลปหัตถกรรม  และ 5.นายณัฐวุฒิ  จำเริญขจรสุข ครูวิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง จังหวัดลำปาง ทั้งหมดนี้ถือเป็นโอกาสพิเศษที่เป็นวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ  28 กรกฎาคม 2567  ที่จัดขึ้นในงาน “พุทธศรัทธา บูชาพระพุทธชินราช” ด้วย อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนส่งเสริมงานศิลปะไทยที่สวยงาม ให้กับเยาวชนและภาคประชาชนที่มีฝีมือได้แสดงศักยภาพ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า